ความรู้การUpgrade PC

ทุกวันนี้ CPU แทบจะก้าวผ่านความเร็ว ในระดับ 2,000 MHz ( 2 GHz ) กันแล้ว เมื่อเทียบกับช่วง สองสามปีที่ผ่านมา ที่ PC เครื่องหนึ่ง มีความเร็วแค่ 300 – 500 MHz ก็แทบจะตื่นเต้นกันน่าดู ดังนั้น จึงไม่ต้องแปลกใจเลยว่า ทำไม PC ของคุณ จึงตกรุ่นเร็วนัก และการที่จะซื้อเครื่องใหม่ ทุกปีๆ เพื่อที่จะตามทันความเร็วที่เพิ่งขึ้น อย่างบ้าคลั่งนั้น คงไม่ใช่ทางเลือกที่ดีแน่นอน ดังนั้น เราจึงแนะนำ แนวทางสำหรับคุณ เพื่อให้ตามติด ความเร็วที่เพิ่มขึ้น อย่างรวดเร็วเช่นนี้ ด้วยการ Upgrade CPU ที่ถึงแม้อาจต้องยอม เสียเงินเพิ่มสักเล็กน้อย แต่มันก็ยังเป็นการลงทุน ที่น้อยกว่า การซื้อเครื่องใหม่ หลายเท่าตัว

อย่างไรก็ตาม คุณต้องจำเอาไว้ก่อนว่า คุณไม่สามารถ Upgrade ได้ด้วยความเร็วล่าสุด เท่าที่มีอยู่ในท้องตลาดปัจจุบัน เนื่องด้วยข้อจำกัด ของเมนบอร์ด และระบบที่จะรองรับ ซึ่งจะมีขีดจำกัดสูงสุด อยู่ที่จุดๆ หนึ่งเสมอ และหากคุณ ต้องการ ตามทันความเร็วล่าสุดในท้องตลาดล่ะก็ คุณอาจจะต้อง ยอมทำถึงขนาด ยกเครื่องเมนบอร์ดใหม่ เพื่อให้ระบบของคุณ สามารถรองรับ ความทันสมัยเช่นที่ว่าได้ สำหรับ ผู้ที่ใช้ CPU แบบ Socket 7 ( เช่น K6, K6-2, K6-III ) ซึ่งมีความเร็วระหว่าง 75 – 233 MHz อยู่ก่อนแล้ว คุณสามารถ เพิ่มความเร็วของ CPU ได้แค่เพียง 333 – 400 MHz เท่านั้น ( แถมยังหาซื้อ CPU มา upgrade ได้ยากอีกด้วย เพราะมันแทบ จะหมดไปจากตลาดแล้ว ) แต่โชคดี เป็นของ ผู้ที่ใช้สินค้าจาก Intel ซึ่งเป็นรูปแบบSLOT 1 ไม่ว่าจะเป็นทั้ง Pentium, Celeron หรือ Pentium II ที่สามารถ Upgrade ไปใช้ Pentium III ที่มีความเร็วมากกว่า 600 MHz ได้ด้วย แต่สำหรับ ผู้ที่ต้องการ Upgrade มาใช้ Pentium 4 หรือ Duron และ Athlon นั้น มีทางเดียวที่คุณสามารถทำได้ นั่นคือ การเปลี่ยนเมนบอร์ดเสียใหม่ เพราะ CPU ทั้ง 3 ตัวนี้ ถือได้ว่า ใช้ระบบสถาปัตยกรรมแบบใหม่ ซึ่งเพิ่งถือกำเนิดขึ้น เพียง 1 – 2 ปีที่ผ่านมานี้เอง

แต่ถึงแม้ว่า คุณจะได้ upgrade CPU เรียบร้อยแล้ว ด้วยความเร็วที่เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า ระบบของคุณ จะสามารถ เพิ่มความเร็วขึ้นได้ ในอัตราเดียวกัน นั่นเพราะว่า การทำงานของ PC นั้น จะต้องพึ่งพาส่วนประกอบต่างๆ ร่วมกัน ตั้งแต่ CPU, RAM และ Harddisk ในขณะที่ เครื่อง PC รุ่นเก่าๆ นั้น ต่างก็มาพร้อมกับ RAM และ Harddisk ที่มีอัตราการส่งผ่านข้อมูล ที่ต่ำกว่าปัจจุบัน ด้วยกันทั้งสิ้น นั่นทำให้ การ Upgrade ในครั้งนี้ ไม่สามารถเพิ่มความเร็ว การทำงาน ได้อย่างเต็มที่ เพราะโดยเฉลี่ยแล้ว อุปกรณ์ชุดเก่านี้ จะไปถ่วงความเร็ว ให้ลดต่ำลงมาประมาณ 25% และหากคุณ ยอมไม่ได้ กับเรื่องนี้ คงมีทางเดียวสำหรับคุณนั่นคือ การซื้อ PC ตัวใหม่มาใช้เลย จะดีกว่า

ก่อนจะเริ่มต้น
  ไม่ใช่ทุกเครื่อง ที่จะสามารถ Upgrade CPU ได้ นั่นเพราะว่า มันขึ้นอยู่กับ อายุการใช้งาน และเมนบอร์ด ที่คุณใช้งานอยู่ และหากคุณโชคร้ายจริงๆ เพราะเมนบอร์ด ที่ใช้งานนั้น ไม่รองรับ CPU รุ่นใหม่ๆ เอาเสียเลย เห็นทีคราวนี้ คุณต้องทำการ ยกเครื่องเมนบอร์ดเสียก่อน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่แล้ว จะสามารถ Upgrade CPU ได้ เพียงแต่ว่า จะมีขีดจำกัด เรื่องความเร็ว ที่แตกต่างกันไป คอมพิวเตอร์บางตัว อาจสามารถ Upgrade ได้ ในระดับความเร็วเกือบ 1 GHz แต่บางตัว อาจเพิ่มความเร็วได้เพียงไม่ถึง 500 MHz ด้วยซ้ำไป เกี่ยวกับเรื่องนี้ เราแนะนำให้คุณ เข้าไปยังเว็บไซต์ ของผู้ผลิต Mainboard แล้วเลือกหาบริการ ความช่วยเหลือ ( Help / Support ) เพื่อดูรายละเอียดเกี่ยวกับ เมนบอร์ดของคุณ อีกทั้ง ก่อนที่คุณ จะเลือกหา CPU มาทำการ Upgrade นั้น เราขอแนะนำให้คุณ ตรวจสอบระบบของคุณ ให้แน่ใจเสียก่อน ซึ่งก็ไม่ยากนัก เพียงแต่คุณ ไปดาวน์โหลดโปรแกรม Sandra 2000 มาใช้ จากนั้นก็ใช้โปรแกรมนี้ ทำการตรวจสอบระบบของคุณ ซึ่งตัวโปรแกรม ก็จะแสดงรายละเอียดทั้งหมด ตั้งแต่ CPU ความเร็วเท่าไหร่ ยี่ห้อใด, เมนบอร์ด, หน่วยความจำ ฯลฯ จากข้อมูลส่วนนี้เอง ที่จะเป็นข้อมูลประกอบ การตัดสินใจได้ดียิ่งขึ้น
  ยังมีข้อแนะนำอีกเล็กน้อย นั่นคือ การทำให้ BIOS ของคุณทันสมัย ซึ่ง BIOS นี้เอง ที่จะช่วยให้ ระบบของคุณ สามารถรองรับคุณสมบัติใหม่ๆ ได้ด้วย วิธีง่ายๆ ในการ Update BIOS นั่นคือ การเข้าไปยังเว็บไซต์ของผู้ผลิตเมนบอร์ด ที่คุณใช้งานอยู่ แต่คุณก็สามารถ เข้าไปยังเว็บไซต์ WimsBios.Comได้ เพราะที่นี่ จะช่วยให้คุณ ได้รับข้อมูล เกี่ยวกับ BIOS ล่าสุด พร้อมทั้งเป็นแหล่งรวม BIOS ให้ดาวน์โหลดอีกด้วย
  สิ่งสำคัญ : เมื่อมั่นใจ เกี่ยวกับ CPU ที่จะ Upgrade และการ Update BIOS ล่าสุดแล้ว เราขอให้คุณ ทำการ Back up ระบบของคุณเอาไว้ด้วย เพราะคงไม่ดีแน่ หากในระหว่างที่คุณทำการ Upgrade CPU อยู่นี้ แล้วข้อมูลสำคัญๆ ของคุณ เกิดเสียหายขึ้นมา

ทำความเข้าใจเบื้องต้น เกี่ยวกับรูปแบบของ CPU

CPU นั้น จะเลือกใช้รูปแบบการต่อเชื่อม ที่แตกต่างกันไป โดยเราจะสามารถ แบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ ได้แก่ แบบตลับ หรือ slot และแบบเป็นชิ้นแยกเดี่ยว อย่าง socket ซึ่งรูปแบบนี้เอง ที่จะเป็นปัจจัยสำคัญ ต่อความสามารถ ในการ Upgrade ระบบของคุณ นั่นเพราะว่า Mainboard ของคุณนั้น จะรองรับ CPU ได้แบบใดแบบหนึ่งเท่านั้น ( Mainboard บางรุ่น อาจสามารถ รองรับได้ทั้ง Slot 1 หรือ Socket 370 แต่เราก็ไม่พบมากนัก ) นอกจากนี้ มันยังมีข้อจำกัด ในเรื่องของตัวคูณความเร็ว ซึ่งปัจจัยนี้เอง ที่จะมีผลต่อความเร็วสูงสุดของ CPU ที่เมนบอร์ดจะสามารถ รองรับได้

Socket 7, Super 7: ทั้งสองตัวนี้ มีความใกล้เคียงกันอย่างมาก โดยแบบ Socket 7 นั้น เราพบได้ในเครื่องรุ่นเก่าๆ เมื่อครั้งที่ Pentium เพิ่งออกสู่ตลาด ในขณะเดียวกัน มันยังรองรับ CPU จาก AMD และ Cyrix ( ซึ่งมีความเร็ว อยู่ระหว่าง 133 MHz – 266 MHz ) นั่นทำให้ เครื่องที่ ใช้ AMD และ Cyrix สามารถ Upgrade มาใช้ Pentium ได้ด้วย โดยที่รูปแบบ Socket 7 นี้ จะใช้ระบบบัสความเร็วเพียง 66 MHz เท่านั้น ในขณะที่ Super 7 นั้น ถือว่าเป็นการพัฒนา ที่ดีขึ้น เพราะมันเลือกใช้ ความเร็วของระบบบัสที่ดีขึ้น ในระดับ 100 MHz แต่เราก็พบเฉพาะ ผลิตภัณฑ์ของ AMD ในตระกูล K6 เท่านั้น ที่รองรับรูปแบบนี้

Socket 370 : ด้วยปัญหา ในเรื่องต้นทุน ที่เพิ่มขึ้น และข้อจำกัดในการผลิต ทำให้ Intel ต้องเปลี่ยนรูปแบบ ของ Celeron และ Pentium III จากSLOT 1 มาใช้ Socket 370 แทน โดยที่ รูปแบบนี้ ถือเป็นรูปแบบที่ยังมีอนาคต เพราะว่าจนถึงปัจจุบันนี้ ทาง Intel ก็ยังสนับสนุนมันอยู่ และคุณสามารถ เพิ่มความเร็วได้มากกว่า 1 GHz ได้ ด้วย Pentium III รุ่นใหม่ๆ นอกจากนี้ รูปแบบนี้ ยังช่วยให้ การทำงานของระบบ เป็นไปอย่างรวดเร็วมากขึ้น เพราะมันรองรับระบบบัส ความเร็วสูง ที่ระดับ 133 MHz แต่มันก็ยืดหยุ่นพอ ที่จะรองรับ ความเร็วของระบบบัสที่ 66 – 100 MHz ได้ ซึ่งเป็นความเร็วที่ Celeron เลือกใช้

Socket A : เราคิดว่า ผู้ที่ใช้รูปแบบนี้ คงไม่มีความต้องการ Upgrade เท่าไหร่นัก เพราะมันเป็นรูปแบบ ที่เพิ่งมีการ แนะนำเข้าสู่ตลาด เมื่อไม่นานมานี้ ซึ่งมาพร้อมกับ CPU รุ่นใหม่ของ AMD ทั้ง Duron และ Athlon โดยที่ จะรองรับ ระบบบัสความเร็วในระดับ 133 MHz เช่นเดียวกับ Socket 370

Slot1, Slot A : Slot 1 ถือกำเนิดมาพร้อมกับ Pentium II และได้มีการใช้งานเรื่อยมา จนถึง Pentium III และ Celeron โดยที่ถือเป็นรูปแบบ ที่มีการบรรจุภัณฑ์เป็นอย่างดี เพราะตัว CPU นั้นจะถูกบรรจุอยู่ในตลับ พลาสติกอีกทีหนึ่ง และนี่เองที่ทำให้ เกิดปัญหาขึ้น ด้วยต้นทุน ที่สูงขึ้น และข้อจำกัด ในการผลิต ทำให้ทาง Intel ต้องเปลี่ยน Pentium III และ Celeron มาใช้รูปแบบ Socket 370 แทน ในขณะที่ Slot A นั้น เราไม่พบมากนัก เพราะว่า เป็นรูปแบบ ที่ AMD นำมาใช้กับ Athlon ในช่วงแรกเริ่ม และเราพบ Athlon เพียงไม่กี่ตัว ที่เลือกใช้รูปแบบนี้ นั่นเพราะว่า เพียงไม่กี่เดือน ทาง AMD ก็ได้ยกเลิก Slot A และหันมาใช้ Socket A แทนที่

Upgrading CPU แบบ Socket 7 หรือ Socket 370

1. ถอด CPU ตัวเดิมออก

ให้กำจัด ไฟฟ้าสถิตย์ ออกจากตัวคุณเสียก่อน ด้วยการสัมผัส กับวัตถุที่เป็นโลหะ อย่างตู้เหล็ก, ตู้เย็น หรือโต๊ะเหล็กก็ได้ จากนั้น ก็ให้ปิดเครื่อง และถอดปลั๊กออกให้หมด ( ดูให้เรียบร้อย รวมไปถึง ปลั๊กต่อเชื่อมต่างๆ ด้วย ) เสร็จแล้วก็ให้ ถอดฝาครอบเครื่องออก และให้หาตำแหน่งของ CPU ( ปกติ จะมี Heat Sink หรือพัดลมติดทับอยู่ ให้คุณสังเกต ที่อุปกรณ์ ดังกล่าวนี้ นั่นก็คือ ตำแหน่งของ CPU ) เมื่อคุณเข้าถึง CPU ตัวเก่าแล้ว ก็ให้ค่อยๆ ถอดพัดลม หรือ Heat Sink ออกก่อน บางที คุณอาจต้อง ถอดสายไฟพัดลมออกเสียด้วย ( เราแนะนำว่า พัดลมตัวเก่านั้น ควรจะโละทิ้งเสีย และหาตัวใหม่ มาใช้งานดีกว่า ) นอกจากสายไฟพัดลม แล้ว ยังอาจต้อง ถอดสาย Cable ต่างๆ ที่เกะกะอยู่นั้น ออกเสียด้วย ( อย่าลืม หาป้าย หรือสติกเกอร์ มาแปะสายนั้นๆ เอาไว้ อาจจะติดลำดับหมายเลข หรือเขียนคำอธิบายเลยก็ได้ ว่าเป็นสาย Cable ของอุปกรณ์ใด เพื่อการติดตั้งกลับ เข้าไปใหม่ จะได้ไม่มีปัญหา ) สิ่งสำคัญ : ในการถอด CPU แบบ Socket นี้ ไม่ยากนัก เพราะมันมักจะมีตัวง้างอยู่ด้านข้าง เพื่อช่วยดัน CPU ให้ออกมา อย่างง่ายดาย แต่คุณ ก็ต้องทำด้วยความระมัดระวัง และอย่าออกแรงมากนัก เพราะตัวง้างนี้อาจหักลงได้ เมื่อดึง CPU ออกมาจาก แท่นติดตั้งแล้ว ให้คุณสังเกต มุมของแท่นติดตั้งนี้ เพราะว่าจะมีอยู่ 1 มุม ที่เป็นมุมตัด ( และมักจะมีรูเล็กๆ 1 รู ตรงมุมตัดนี้ด้วย ) ซึ่งตรงจุดนี้เอง ที่จะเป็นตำแหน่งของขาที่ 1 ให้คุณ ทำตำหนิที่ตำแหน่งนี้เอาไว้ เพื่อว่า จะได้ติดตั้ง CPU ตัวใหม่ ได้ง่าย และสะดวกขึ้น

2. ติดตั้ง CPU ตัวใหม่

เตรียม CPU ตัวใหม่ให้พร้อม และติดตั้งลงไปบนแท่น CPU โดยให้แน่ใจว่า ขาที่ 1 ของ CPU นั้น เสียบลงบนตำแหน่งที่ถูกต้อง ( ใน CPU รุ่นใหม่ จะ Log ตำแหน่ง ในการติดตั้งเอาไว้ ทำให้หมดกังวล ในเรื่องของการติด CPU ผิดด้าน ) จากนั้น จึงค่อยๆ กด CPU ลงไป แต่อย่าฝืน หากมันไม่ลงตำแหน่ง เพราะอาจทำให้ขาหักได้ ให้คุณ ดูการติดตั้งอีกครั้ง และวางให้มันถูกตำแหน่ง ( ซึ่งมันจะลงล็อก ได้อย่างง่ายดาย ) เสร็จแล้ว ก็กดขาล็อกลงเพื่อ ล็อก CPU ให้แน่น ต่อมา ให้คุณ ทำการติดตั้ง Heat Sink ( ( ซึ่งคุณ ต้องหาซิลิโคน มาใช้ด้วย โดยเราแนะนำให้คุณ ทาซิลิโคนที่ตัว CPU เสียก่อน จากนั้น จึงติดตัว Heat Sink ทับลงไป ) หรือถ้าคุณ ต้องการติดตั้งพัดลม ก็ให้ครอบตัวพัดลมลงไปบน CPU และทำการ ต่อสายไฟกับพัดลมอีกต่อหนึ่ง

3. ตั้งค่า Jumpers ของเมนบอร์ด ( สำหรับ CPU แบบ Socket 7 เท่านั้น )

ถ้าการ Upgrade ของคุณ อยู่บนพื้นฐานของ CPU รุ่นเก่าๆ ที่เป็นรูปแบบ Socket 7 ( อย่าง Pentium ยุคแรกๆ หรือ K6 ของ AMD ) ซึ่งเมนบอร์ด ยังเป็นรุ่นเก่าๆ อยู่เช่นเดียวกัน ทำให้คุณ ต้องทำการ ตั้งค่า Jumper เพื่อไปกำหนด ความเร็วบัส และค่าตัวคูณ เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพ พอที่จะรองรับ CPU ความเร็วสูง ตัวใหม่ ที่ติดตั้งเข้าไป ( ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อม คุณสมบัติ การตั้งค่า Jumper โดยอัตโนมัติ คุณจึงไม่ต้องวุ่นวายเช่นนี้อีก ) สำหรับ การตั้งค่า Jumper นี้ ในคู่มือ ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดของคุณ จะมีบอกเอาไว้ อย่างละเอียด หรือไม่เช่นนั้น ก็ให้คุณปรึกษาผู้ขาย หรือจากเว็บไซต์ ของผู้ผลิต ให้แน่ใจเสียก่อน ว่าสามารถ รองรับได้

4. ตรวจสอบขั้นสุดท้าย

ตรวจสอบ การติดตั้งของคุณ ให้เรียบร้อย อีกครั้งหนึ่ง ดูให้ดีว่า ได้ทำการติดตั้งสายไฟ และสาย Cable ต่างๆ กลับคืนไปอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจสอบ CPU และพัดลมของคุณว่า ติดตั้งเรียบร้อยดีแล้ว ( เพื่อจะได้ไม่มีปัญหา ความร้อนจาก CPU หรือเกิด CPU ไหม้ขึ้นได้ ) เมื่อแน่ใจดีแล้ว ให้คุณ เปิดเครื่อง ( แต่ยังไม่ต้อง ปิดฝาครอบเครื่อง เผื่อมีปัญหา จะได้ไม่ต้องมานั่งถอดออกอีก ) และสังเกตดูการบูธเครื่องของ Windows ว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ หากโชคดี การทำงานของคุณครั้งนี้ ก็เรียบร้อย หากโชคร้าย เครื่องบูธไม่ขึ้น หรือเข้า Safe Mode แนะนำให้คุณ ปิดเครื่อง และตรวจสอบ การติดตั้ง CPU ของคุณใหม่ อีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อตรวจดูแล้ว พบว่า เกิดปัญหาทำงานไม่ได้ ให้คุณ ลองเอา CPU ตัวเก่า ติดตั้งเข้าไป ว่าทำงานได้หรือไม่ เพราะไม่แน่ว่า CPU ตัวใหม่ อาจเสียก็เป็นได้ หากเกินความสามารถของคุณจริงๆ เราก็แนะนำให้คุณ ยกเครื่องไปให้ช่างเทคนิค ที่คุณใช้บริการอยู่ตรวจสอบปัญหา หรืออาจจะโทรสอบถามจากผู้ผลิตของคุณก็ได้

Upgrading CPU แบบSLOT 1 (Pentium II or Celeron)

1. ถอด CPU ตัวเดิมออก

ให้กำจัด ไฟฟ้าสถิตย์ ออกจากตัวคุณเสียก่อน ด้วยการสัมผัส กับวัตถุที่เป็นโลหะ อย่างตู้เหล็ก, ตู้เย็น หรือโต๊ะเหล็กก็ได้ จากนั้น ก็ให้ปิดเครื่อง และถอดปลั๊กออกให้หมด ( ดูให้เรียบร้อย รวมไปถึง ปลั๊กต่อเชื่อมต่างๆ ด้วย ) เสร็จแล้วก็ให้ ถอดฝาครอบเครื่องออก และให้หาตำแหน่งของ CPU ( ปกติ จะมี Heat Sink หรือพัดลมติดทับอยู่ ให้คุณสังเกต ที่อุปกรณ์ ดังกล่าวนี้ นั่นก็คือ ตำแหน่งของ CPU ) เมื่อคุณเข้าถึง CPU ตัวเก่าแล้ว ก็ให้ค่อยๆ ถอดพัดลม หรือ Heat Sink ออกก่อน บางที คุณอาจต้อง ถอดสายไฟพัดลมออกเสียด้วย ( เราแนะนำว่า พัดลมตัวเก่านั้น ควรจะโละทิ้งเสีย และหาตัวใหม่ มาใช้งานดีกว่า )

ให้สังเกตขายึดตลับ CPU ( ตัวเล็กๆ ) ซึ่งอยู่มุมบนทั้งสองข้าง โดยให้คุณ บีบทั้งสองข้าง เข้าหากัน จนกระทั่งมันคลายล็อก แล้วให้คุณ ค่อยๆ ขยับตลับ CPU โดยอาจจะโยกเบาๆ ไปมา จนกระทั่งมันหลวม แล้วก็ค่อยๆ ดึงมันออกมาจากตัวยึด

2. ติดตั้ง CPU ตัวใหม่v

เนื่องจาก CPU แบบSLOT ในตลาดไม่พบแล้ว โดยที่ทั้ง Pentium II และ Celeron รุ่นแบบตลับนั้น ต่างก็ตกรุ่นเรียบร้อย ดังนั้น คุณจึงมีความจำเป็น ต้อง Upgrade มาใช้ CPU แบบ socket 370 แทน ซึ่งผู้ใช้บางคน อาจจะโชคดี ตรงที่เมนบอร์ดของคุณ มีทั้งแท่นเชื่อมต่อแบบ Slot 1 และ Socket 370 มาให้ แต่เราก็พบไม่บ่อยนัก และเพื่อให้คุณ สามารถติดตั้ง CPU รุ่นใหม่อย่าง Celeron 733 MHz ซึ่งอยู่บนรูปแบบ Socket 370 ลงบนเมนบอร์ดแบบ slot 1 ได้ คุณจะต้องหาซื้อ slocket ซึ่งจะเป็นตัวแปลง ให้สามารถ เสียบ CPU แบบ socket ลง Slot ที่อยู่บนเมนบอร์ด ได้นั่นเอง

เมื่อคุณเตรียม Slocket และ CPU ไว้เรียบร้อยแล้ว ให้คุณทำการ ติดตั้ง CPU ลงบน Slocket ให้เรียบร้อย ( เพียงเสียบเข้าไปให้ลงล็อค และกดขาล็อกด้านข้าง ยึดมันไว้ก็เรียบร้อย ) จากนั้นจึงติดตั้งพัดลม หรือ Heat Sink เข้ากับ CPU เมื่อเตรียม Slocket ที่มี CPU ติดตั้งอยู่พร้อมแล้ว ก็ให้คุณ เสียบ slocket นั้นเข้าไปยัง ขาทั้งสองข้าง ซึ่งจะเป็นแท่นยึดตัว Slocket เอาไว้ จนกระทั่งขาของ Slocket อยู่ตรงกับช่องเสียบ จึงให้คุณ ค่อยๆ กดลงไปจนแน่น ซึ่งตัวยึดด้านบนก็จะ เข้าล็อก เพื่อบอกว่า ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว จากนั้น คุณจึงต่อสายไฟพัดลม CPU เข้ากับตัวเชื่อมต่อ บนเมนบอร์ด เท่านี้ ก็เรียบร้อย ( CPU แบบนี้ จะมีพัดลมมาพร้อม อยู่ในตลับ คุณจึงไม่ต้องวุ่นวาย ในการติดตั้งพัดลมเพิ่มอีก )

3. ตั้งค่า Jumpers ของเมนบอร์ด ( สำหรับ เมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ เท่านั้น )

ถ้าการ Upgrade ของคุณ อยู่บนพื้นฐานของ เมนบอร์ดรุ่นเก่าๆ แล้ว คงไม่พัน ที่คุณ ต้องทำการ ตั้งค่า Jumper เพื่อไปกำหนด ความเร็วบัส และค่าตัวคูณ เพื่อจะได้มีประสิทธิภาพ พอที่จะรองรับ CPU ความเร็วสูง ตัวใหม่ ที่ติดตั้งเข้าไป ( ในเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆ จะมาพร้อม คุณสมบัติ การตั้งค่า Jumper โดยอัตโนมัติ คุณจึงไม่ต้องวุ่นวายเช่นนี้อีก ) สำหรับ การตั้งค่า Jumper นี้ ในคู่มือ ที่มาพร้อมกับเมนบอร์ดของคุณ จะมีบอกเอาไว้ อย่างละเอียด หรือไม่เช่นนั้น ก็ให้คุณปรึกษาผู้ขาย หรือจากเว็บไซต์ ของผู้ผลิต ให้แน่ใจเสียก่อน ว่าสามารถ รองรับได้

4. ตรวจสอบขั้นสุดท้าย

ตรวจสอบ การติดตั้งของคุณ ให้เรียบร้อย อีกครั้งหนึ่ง ดูให้ดีว่า ได้ทำการติดตั้งสายไฟ และสาย Cable ต่างๆ กลับคืนไปอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ตรวจสอบ CPU และพัดลมของคุณว่า ติดตั้งเรียบร้อยดีแล้ว ( เพื่อจะได้ไม่มีปัญหา ความร้อนจาก CPU หรือเกิด CPU ไหม้ขึ้นได้ ) เมื่อแน่ใจดีแล้ว ให้คุณ เปิดเครื่อง ( แต่ยังไม่ต้อง ปิดฝาครอบเครื่อง เผื่อมีปัญหา จะได้ไม่ต้องมานั่งถอดออกอีก ) และสังเกตดูการบูธเครื่องของ Windows ว่าเรียบร้อยดีหรือไม่ หากโชคดี การทำงานของคุณครั้งนี้ ก็เรียบร้อย หากโชคร้าย เครื่องบูธไม่ขึ้น หรือเข้า Safe Mode แนะนำให้คุณ ปิดเครื่อง และตรวจสอบ การติดตั้ง CPU ของคุณใหม่ อีกครั้งหนึ่ง แต่เมื่อตรวจดูแล้ว พบว่า เกิดปัญหาทำงานไม่ได้ ให้คุณ ลองเอา CPU ตัวเก่า ติดตั้งเข้าไป ว่าทำงานได้หรือไม่ เพราะไม่แน่ว่า CPU ตัวใหม่ อาจเสียก็เป็นได้ หากเกินความสามารถของคุณจริงๆ เราก็แนะนำให้คุณ ยกเครื่องไปให้ช่างเทคนิค ที่คุณใช้บริการอยู่ตรวจสอบปัญหา หรืออาจจะโทรสอบถามจากผู้ผลิตของคุณก็ได้

ใส่ความเห็น